เลือกเต็นท์สำหรับนอกสถานที่อย่างไรให้เหมาะสม เต็นท์สนามกันฝน ที่ไม่ใช่เหมาะสมกับฤดูฝนเพียงอย่างเดียว เต็นท์สนามกันแดดกันฝน ที่เหมาะกับทุกสถานที่และทุกสถานการณ์
อุปกรณ์สายแคมป์ที่ไม่ควรพลาด กับการ เต็นท์สนามกันฝน
ก่อนที่เราจะเลือกซื้อ เต็นท์กันฝน ยี่ห้อไหนดี สำหรับเอาไปไว้ใช้แคมป์นอกสถานที่เพื่อการนอนนั้น นอกจากน้ำหนัก จำนวนผู้นอน การเลือกลักษณะของผ้าที่ใช้แล้ว สิ่งหนึ่งที่เราควรคำนึงถึงคือ ค่ากันน้ำ หรือที่เรียกว่า Waterproof นั่นเอง เพื่อดูว่าเต็นท์นั้นสามารถกันน้ำได้มากน้อยแค่ไหน เราสามารถดูได้จากค่าที่เรียกว่า Hydrostatic Head หรือตัวย่อ HH ค่านี้แสดงหน่วยเป็น มม. (mm. หรือ มิลลิเมตร) สายแคมป์คงเคยเห็นรายละเอียดของเต็นท์ที่ขายกันอยู่ในทั่วๆ ไป จะมีเขียนกำกับไว้ว่าเต็นท์นั้นสามารถกันน้ำได้กี่มม. โดยค่านี้ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 1,000 -10,000 มม. ค่า HH ยิ่งสูงก็แปลว่ายิ่งกันน้ำได้ดี ส่วนใหญ่ที่จำหน่ายในประเทศไทยค่า HH จะมีขนาดอยู่ประมาณที่ 1,000 – 3,000 มม.
แล้วตัว HH นั้นคืออะไรกันล่ะ โดยปกติเต็นท์นอนจะมีการเคลือบสารกันน้ำที่พื้นผิวของผ้าเต็นท์ เพื่อเสริมความแข็งแรงของผ้าเต็นท์จากสภาพอากาศ เช่น แสงแดด ลม และฝน ซึ่งจะช่วยชะลอการเสื่อมสภาพของอายุการใช้งานของเต็นท์ แต่การกันน้ำที่ระบุไว้ไม่ได้หมายถึงความหนาของผ้าหรือสารที่เคลือบไว้แต่อย่างใด จริงๆ ตัวเลขนี้คือมาตรฐานการวัด Hydrostatic Head (HH) หรือเข้าใจง่ายๆ คือ การทดสอบการรั่วซึมของน้ำที่ระดับแรงดันต่างๆ ที่ให้น้ำซึมผ่านเนื้อผ้า โดยมีหน่วยวัดแรงดันน้ำเป็นมิลลิเมตร (mm.)
เต็นท์สนามกันฝน ที่บอกว่าการกันน้ำเป็นหน่วย mm. จริงๆ แล้วนั้นมีความหมายว่าอย่างไร
ที่มาของการบอกรายละเอียดการกันน้ำของเต็นท์ที่บอกหน่วยวัดเป็น mm. มีความหมายในเชิงที่ว่า คุณลองนึภาพง่ายๆ ถ้าเราเอาหลอดใส่น้ำ ที่ปลายด้านล่างให้นำผ้าใบ เต็นท์สนามกันฝนได้ มาขึงแล้วค่อยๆ เทน้ำลงในท่อจากด้านบน ความสูงของระดับน้ำในท่อจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมีน้ำมากขึ้นเรื่อยๆ ผ้าใบที่อยู่ปลายด้านล่างก็จะถูกน้ำกดดันให้กดลงมากขึ้นเรื่อยๆ ตามความสูงของน้ำ เมื่อเพิ่มความสูงของน้ำจนถึงจุดหนึ่งที่คุณเริ่มสังเกตเห็นน้ำรั่วจากผ้าใบอีกด้าน กะประมาณซัก 2 ถึง 3 หยดที่ความสูงในหน่วย mm. ของท่อ นั่นคือค่า Hydrostatic Head ดังนั้นเราจะเห็นว่า ยิ่งค่าความสูงเป็นมม. ก็จะถือว่าเต็นท์ยี่ห้อนั้นจะยิ่งกันน้ำ
ตัวอย่างเช่นเต็นท์ที่มีการระบุว่ากันน้ำได้ 1500 มม. หมายความว่าผ้าใบสามารถกันน้ำได้ 1500 มม. ก่อนที่จะเริ่มรั่ว ซึ่งในโลกแห่งความเป็นจริงแล้งผู้อ่านหรือผู้ใช้งานที่ยังเป็นมือใหม่ในด้านการแคมป์อาจจะเปรียบเทียบได้ยากว่าระดับน้ำสูง 1,500 มม. นี่มันต้องมากหรือน้อยแค่ไหน อาจเปรียบเทียบได้อย่างการฝนตกปรอยๆ จะต้องมีค่า HH อยู่ที่ประมาณ 1,000 มม. แต่หากฝนตกหนักและมีลมกรรโชกแรงซึ่งจะเพิ่มแรงดันของน้ำมากยิ่งขึ้น ดังนั้นจะต้องเพิ่มระดับการกันน้ำเป็นประมาณ 2,000 มม. ไปเรื่อยๆ
มือใหม่หัดเลือก ควรเลือกเต็นท์กันน้ำค่า Hydrostatic Head อยู่ที่เท่าไหร่ดี
คำที่หลายๆ คนนั้นคงอาจสงสัย ไม่ว่าจะมือใหม่หรือผู้ที่เป็นสายแคมป์อยู่แล้ว คำถามที่ว่าควรเลือก เต็นท์สนามกันฝน ที่มีค่ากันน้ำอยู่ที่เท่าไหร่ดีเพื่อให้ปลอดภัยและพักผ่อนได้อย่างสบาย สิ่งที่ควรพิจารณาในการเลือกค่ากันน้ำ โดยมีเกณฑ์ทั่วไปที่ต้องคำนึงถึงคือระดับการกันน้ำที่ 1,500 มม. โดยทั่วไปเหมาะสำหรับการใช้งานในฤดูร้อน แต่ถ้าเป็นรุ่นที่ใช้ได้ตลอดทั้งปีควรมีอย่างน้อย 2,000 มม. และสำหรับเต็นท์ที่ใช้ในสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวย ฝนตกบ่อย ควรเผื่อไว้อย่างน้อยซักประมาณ 4,000 มม.
นอกจากดูระดับการกันน้ำของ เต็นท์กันฝนได้ไหม แล้ว อีกส่วนที่สำคัญคือรอยต่อของเต็นท์ด้วย บางทีเราจะสังเกตเห็นว่าผ้าเต็นท์ไม่ดูดซับน้ำแต่น้ำมาจากไหน ปัญหาใหญ่นั้นเกิดมาจากการเย็บตะเข็บของเต็นท์ที่ไม่ดี อาจทำให้น้ำซึมออกมาตามตะเข็บได้ ดังนั้น ผู้ใช้งานควรเลือกเต็นท์ที่มีตะเข็บปิดตลอดแนวซึ่งจะช่วยป้องกันน้ำซึมได้อีกทางหนึ่งด้วย
โดยสรุปหลักๆ ควรพิจารณาจาก
- ความเชื่อมโยง การเย็บตะเข็บของเนื้อผ้า เพราะผ้าใบปกติอาจรอบเย็บที่ประสานกันได้ ตรงบริเวณรอยต่อควรมีเทปปิดเพื่อป้องกันน้ำซึมเข้าบริเวณรอยต่อ
- อายุการใช้งานก็ถือเป็นอีกปัจจัยหนึ่ง เนื่องจากสารเคลือบกันน้ำจะเสื่อมสภาพเมื่อโดนแสงแดด ทำให้เมื่อใช้ไปนานๆ การกันน้ำจะลดลง
มีงบประมาณเท่าไหร่จึงสามารถเลือกซื้อ เต็นท์สนามกันฝน ได้ ควรมี Budget เท่าไหร่ดีกันนะ
ยิ่งระดับการกันน้ำสูงเท่าใด เต็นท์กันฝน ราคา ก็จะยิ่งแพงขึ้นเท่านั้น เพราะต้องมีกระบวนการเคลือบ (Coating) เนื้อผ้า ถ้าเป็นรุ่นกันน้ำดีๆ เต็นท์ยกสูงก็จะใช้ซิลิโคนเคลือบเต็นท์ แต่ถ้าเป็นเต็นท์ราคาต่ำกว่าแบบที่นิยมใช้กันจะใช้โพลียูรีเทน (PU) ในการเคลือบ อย่างไรก็ตามนั้นการกันน้ำของเต็นท์ การกันความรั่วซึมนี้จะไม่คงอยู่ตลอดไป เพราะสารเคลือบมีอายุการใช้งาน อายุการใช้งานขึ้นอยู่กับความถี่ที่คุณใช้งานเต็นท์ ซึ่งถ้าออกแดดบ่อยจะทำให้สารเคลือบกันน้ำหลุดร่อนตามอายุ อย่างไรก็ตามผ้าที่ใช้ทำมีคุณสมบัติกันน้ำอยู่บ้าง แต่ส่วนใหญ่ก็ขึ้นอยู่กับการเคลือบผิวมากกว่านั่นเอง
เลือกประเภทเต็นท์ให้เหมาะกับการไปทริปเที่ยวของคุณ
- เต็นท์โดม เป็นที่นิยมใช้มากที่สุด น้ำหนักเบา พกพาสะดวก ติดตั้งง่าย ได้พื้นที่ใช้สอยมาก กางโดยไม่ต้องใช้สมอบก มีเพียงเสา 2 เสาประกบกันเป็นรูปโดมโดยมีฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีหลายรุ่นให้เลือกและหลายขนาดตามจำนวนคน
- เต็นท์แบบป๊อปอัพ หรือที่หลายๆ คนเรียกว่าเต็นท์สปริง เหมาะสำหรับมือใหม่มากๆ หรือใครก็ตามที่อยากเที่ยวแบบชิลล์ๆ ไม่ต้องเหนื่อยกับการกางเต็นท์ เพียงดึงออกจากกระเป๋าเต็นท์ก็กางพร้อมนอนได้ทันที ใช้งานเสร็จเพียงพับเก็บใส่กระเป๋า น้ำหนักเบา พกพาสะดวก แต่ข้อเสียคือไม่ค่อยแข็งแรง หากมีลมแรงอาจทำให้เต็นท์พังได้
- เต็นท์อุโมงค์ มีลักษณะยาวลึกคล้ายอุโมงค์ที่สามารถนอนเหยียดขาได้สุดให้คุณรู้สึกสบาย ยังมีพื้นที่ใช้สอยที่กว้างมาก ทำให้นอนรวมกันได้หลายคนสบายๆ ไม่ต้องนอนเบียดกันให้อึดอัด หรือใครสัมภาระเยอะก็ไม่ต้องกลัว สามารถกางเต็นท์นอนได้สบาย แม้ว่าเต็นท์จะกว้างขวางนอนสบายแต่ก็ต้องแลกมาด้วยความเหนื่อยในการกางเต็นท์ต้องช่วยกันหลายคน ติดตั้งยากกว่าเต็นท์ชนิดอื่นๆ
- เต็นท์ทรงสามเหลี่ยม หรือ เต็นท์ทรงมาตรฐาน ในอดีตเราจะเห็นกันบ่อยมาก ปัจจุบันหาซื้อได้ยากเพราะความนิยมลดน้อยลงเรื่อยๆ ซึ่งเต็นท์ประเภทนี้มีลักษณะเป็นทรงสี่เหลี่ยม ติดตั้งง่าย มีเสาค้ำทั้งสองด้าน พักได้ประมาณ 2 คน มีพื้นที่ใช้งานค่อนข้างน้อย แถมมีน้ำหนักของเต็นท์ค่อนข้างเยอะ
- เต็นท์เคบิน เป็นเต็นท์ขนาดใหญ่เหมาะสำหรับครอบครัว สามารถอยู่ร่วมกันได้สูงสุด 10 คน พื้นที่ภายในกว้าง อย่างห้องนอนใหญ่เพดานก็สูงจนคนยืนได้ นอนสบายมาก และตัวเต็นท์ยังมีโครงสร้างที่แข็งแรงทำให้สามารถกันแดด กันลม กันฝนได้ดี แต่อาจจะเคลื่อนย้ายไม่สะดวกถ้ามีการย้ายบ่อยๆ ครั้ง ด้วยน้ำหนักที่มากและการติดตั้งที่ค่อนข้างยุ่งยากจึงต้องใช้เวลาในการติดตั้ง
- เต็นท์พีรามิด เหมาะสำหรับการเดินป่า ด้วยขนาดที่กระทัดรัด น้ำหนักเบา พกพาสะดวก กางเต็นท์ได้ง่ายโดยใช้เพียงเสาอะลูมิเนียมวางตรงกลาง แล้วตอกสมอบกเพื่อยึดและดึงเชือกเพื่อกางเต็นท์ มีความทนทานค่อนข้างสูง ไม่ว่าสภาพอากาศจะเลวร้ายแค่ไหนเต็นท์พีระมิดก็รับมือได้ทั้งหมด
- เต็นท์เป่าลม ขจัดความยุ่งยากเสียเวลาในการตั้งเต็นท์ ไม่ต้องใช้เสา แค่มีปั๊มลมก็สร้างเต็นท์นอนได้แล้ว เหมาะมากสำหรับมือใหม่หัดแคมป์ปิ้ง หรือนักท่องเที่ยวแบบชิลล์ๆ และแน่นอนว่าเมื่อสะดวกสบายแบบนี้ ติดตั้งไม่ยุ่งยาก แต่ก็ต้องแลกมาด้วยน้ำหนักเต็นท์ที่หนักมากและต้องพกที่สูบลมไปด้วย เต็นท์ชนิดนี้จึงเหมาะสำหรับคนมีรถ
- เต็นท์กระโจม เต็นท์ประเภทนี้มีรูปลักษณ์มียอดแหลมคล้ายกระโจมอินเดีย ติดตั้งง่าย ใช้เสากลางเพียงต้นเดียว แล้วนำผ้าเต็นท์มาคลุม ยึดปลายผ้าด้วยสมอให้แข็งแรง เต็นท์ส่วนใหญ่ทำจากผ้าใบ (Canvas) ซึ่งสามารถควบคุมอุณหภูมิภายในเต็นท์ได้เป็นอย่างดี ทนความเย็นได้ แต่จะไม่สามารถกันฝนได้ เพราะน้ำอาจเข้าเต็นท์ได้ จึงเหมาะกับใช้กางในฤดูหนาว
- เต็นท์หลายห้อง ใครที่ต้องการเต็นท์ขนาดใหญ่ที่มีพื้นที่ใช้สอยเกือบเท่าๆ กับเต็นท์เคบิน ขอแนะนำให้เลือกเต็นท์แบบหลายห้อง ซึ่งเป็นเต็นท์ขนาดใหญ่ พื้นที่เยอะ พักกันได้หลายคน เหมาะสำหรับครอบครัวหรือกลุ่มเพื่อน ภายในเต็นท์จะมีห้องแยกเป็นห้องๆ ความสูงก็สูงแบบยืนได้สบาย ทำให้การใช้สบาย แต่ต้องแลกมาด้วยน้ำหนักเต็นท์ที่หนักและต้องใช้เวลาในการกางเต็นท์ที่นานหน่อย ต้องช่วยกันหลายคนเพราะขนาดเต็นท์นั้นใหญ่พอสมควร
สรุป เต็นท์สนามกันฝน ที่สามารถทนได้ทั้งแดด ลม และฝน!
ต้องบอกตามตรงเลยว่าไม่มีเต็นท์ไหนที่เป็น เต็นท์กันฝน ราคาถูก กันน้ำได้แบบ 100% ที่เหมาะกับ LIFESTYLES ซึ่งขึ้นอยู่กับการใช้งานว่าเหมาะกับเต็นท์ในแต่ละประเภทหรือไม่ เลือกให้เหมาะกับทริปที่คุณจะไปและวางแผนการเตรียมตัวอื่นๆ ไว้ด้วย ซึ่งจะช่วยการแคมป์ของคุณให้ดีขึ้นและสนุกมากขึ้น นอกจากนี้การไปแคมป์ยังต้องมีอุปกรณ์อื่นๆ ที่คุณต้องพกและเตรียมไปด้วย ก่อนออกเดินทางควรเช็คและสำรวจสิ่งของให้พร้อมเสมอก่อนออกเดินทางไปแคมป์!